วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ศิลปะตะวันตก ในประเทศไทย


อิทธิพลของศิลปะวัฒนธรรมตะวันตก ในประเทศไทย

          
          นับจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ศิลปะไทยอยู่ในช่วงการปรับตัวระหว่างรูปแบบตามประเพณีนิยมกับศิลปะทางตะวันตกของยุโรป แม้ว่ายังมีการสร้างศิลปะตามแบบประเพณีนิยมอยู่บ้างแต่ไม่มากเท่าตอนต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อเจ้านายและขุนนางชั้นสูงออกไปศึกษาในประเทศตะวันตก พระมหากษัตริย์เสด็จประพาสประเทศในเอเชียและประเทศทางยุโรป รวมทั้งการจ้างชาวตะวันตกที่เป็นสถาปนิก จิตรกร ประติมากร และนักวิชาการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เข้ามาทำงานในเมืองไทย ศิลปะแบบตะวันตกเริ่มฝังรากลงในสังคมและวัฒนธรรมไทย ผลักดันให้เกิดการพัฒนาแนวความคิดและวิธีการแสดงรูปแบบทางศิลปกรรมทุกด้าน

สถาปัตยกรรม

มีการสร้างวัดวาอารามขึ้นเป็นจำนวนมาก ปรากฏมีอิทธิพลการสร้างแบบหลังคาโดมโค้ง ซึ่งเป็นการรับอิทธิพลจากตะวันตก เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม แนวศิลปะผสมระหว่างไทยกับตะวันตก เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง


พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

ประติมากรรม

ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ประติมากรรมที่สร้างขึ้นจะได้รับอิทธิพลศิลปะตะวันตก แม้แต่การปั้นพระพุทธรูปให้เหมือนมนุษย์ยิ่งขึ้น มีการหล่อ การปั้น การแกะสลักพระพุทธรูปและรูปสัตว์สิงโต มีการปั้นรูปแบบคนเหมือนจริงขึ้นเป็นรูปปั้นอนุสาวรีย์ของรัชกาลต่างๆ

งานประติมากรรมอื่นๆมักจะเป็นงานจำหลักหินอ่อนหรือหล่อสำริดส่งมาจากยุโรป ถือเป็นการเริ่มรับแบบอย่างการปั้นภาพเหมือนและอนุสาวรีย์ตะวันตก


จิตรกรรม

นับจากสมัยรัชกาลที่ 4 จิตรกรรมไทยได้รับอิทธิพลของศิลปะตะวันตกเข้ามาผสมผสานทำให้เกิดศิลปะรูปแบบใหม่ กล่าวคือได้มีการนำวิทยาการสมัยใหม่ของตะวันตกในการสร้างภาพมนุษย์ที่เน้นความเหมือนจริงมาผนวกเข้ากับวิทยาการของไทยที่เขียนภาพแบบอุดมคติ งานเหล่านี้มีให้เห็นอยู่ในจิตรกรรมฝาผนังของ ขรัวอินโข่ง จิตรกรเอกสมัยรัชกาลที่ 4


ภาพเขียนฝีมือพระอาจารย์ อินโข่ง (ขรัวอินโข่ง)


การเขียนภาพจิตรกรรมแบบประเพณีของไทย เริ่มมีการนำเทคนิคของการเขียนภาพแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในสมัยรัชกาลที่ 4 ผู้ที่ เริ่มนำเทคนิคของการเขียนภาพแบบตะวันตกมาใช้เป็นท่านแรกคือ พระอาจารย์อินโข่งหรือที่เรียกติดปากกันทั่วไปว่า ขรัวอินโข ่งท่านเป็นจิตรกรที่บ วชเป็นพระจำพรรษาอยู่ที่วัดราชบูรณะ ขรัวอินโข่ง เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาแนวทางการเขียนภาพจิตรกรรมไทยแบบประเพณีโดยนำเอากฎเกณฑ์ทางทัศนียวิทยาเข้ามาใช้แสดงระยะใกล้ - ไกล และแสดงบรรยากาศในภาพจิตรกรรมด้วยการใช้แสงเงาและสี ทั้งยังนำเอาลักษณะของ การจัดองค์ประกอ บและลักษณะตีกรามบ้านช่องแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในภาพเขียน นอกจากนั้นลักษณะภาพเขียนของขรัวอินโข่ง ยังแสดงถังบรรยากาศบางลักษณะของสภาพภูมิอากาศของตะวันตกอีกด้วย


จิตรกรรมฝาผนังของขริวอินโข่

ขรัวอินโข่งได้รับการยกย่องนับถือว่าเป็นผู้เริ่มต้นงานจิตรกรรมสมัยใหม่ เพราะในงานจิตรกรรมของท่าน การแสดงอารมณ์และบรรยากาศ เป็นการแสดงออกที่เป็นอิสระ และพ้นจากกฎเกณฑ์ของภาพเขียนแบบประเพณีโดยทั่วไปผลงานของท่านแสดงออกถึงคุณค่าของงานจิตรกรรมซึ่งอยู่เหนื อเหตุผลทางทฤษฎีในการเขียนภาพ เป็นการชี้ทางให้ช่างเขียนยุคต่อมาของไทยได้มองเห็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ไม่ ซ้ำซาก ไม่ปิดกั้นความคิดของตนไว้กับรูปแบบทางศิลปะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง






เว็ปไซต์อ้างอิง
  • http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/art04/01/webpage10.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น